ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556)
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม ศิลปศาสตรบัณฑิต (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)
ชื่อย่อ ศศ.บ.(บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)
หน่วยงานรับผิดชอบ
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม
โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตร
นักศึกษาจะต้องจดทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 139 หน่วยกิต โดยได้ศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้าง องค์ประกอบ และข้อกำหนดของหลักสูตรดังนี้
1. วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ 100 หน่วยกิต
2.1 วิชาเอก 76 หน่วยกิต
2.1.1 วิชาบังคับในสาขา 37 หน่วยกิต
2.1.2 วิชาเลือกในสาขา 30 หน่วยกิต
2.1.3 วิชาบังคับนอกสาขา 9 หน่วยกิต
2.2 วิชาโทหรือวิชาเลือก 24 หน่วยกิต
3. วิชาเลือกเสรี 9 หน่วยกิต
ข้อกำหนดของหลักสูตร
1. วิชาศึกษาทั่วไป
นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป รวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ
2.1 วิชาเอก 76 หน่วยกิต
2.1.1 วิชาบังคับในสาขา
นักศึกษาต้องศึกษาวิชาบังคับในสาขาไม่น้อยกว่า 12 วิชา 37 หน่วยกิต และต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C ทุกรายวิชา ดังนี้
บ.211 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 3 หน่วยกิต
บ.212 เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น 3 หน่วยกิต
บ.231 การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.241 การวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ 1 3 หน่วยกิต
บ.242 การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ 1 3 หน่วยกิต
บ.251 ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการอ้างอิง 3 หน่วยกิต
บ.324 ความรู้เบื้องต้นทางการวิจัยสำหรับบรรณารักษ์ 3 หน่วยกิต
บ.343 การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ 2 3 หน่วยกิต
บ.344 การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.361 การจัดและบริหารห้องสมุดทั่วไป 3 หน่วยกิต
บ.371 การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.491 การปฏิบัติงานในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 4 หน่วยกิต
2.1.2 วิชาเลือกในสาขา นักศึกษาต้องเลือกศึกษารายวิชาอื่นๆ ในสาขาไม่น้อยกว่า 10 วิชา 30 หน่วยกิต โดยต้องเป็นวิชาในระดับ 400 ไม่น้อยกว่า 2 วิชา 6 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้
บ.215 การสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ 3 หน่วยกิต
บ.216 สารสนเทศกับสังคมไทย 3 หน่วยกิต
บ.217 การรู้สารสนเทศ 1 3 หน่วยกิต
บ.218 การรู้สารสนเทศ 2 3 หน่วยกิต
บ.226 พัฒนาการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.319 การบริหารสำนักงาน 3 หน่วยกิต
บ.327 หนังสือและการพิมพ์ 3 หน่วยกิต
บ.335 โปรแกรมประยุกต์สำหรับสำนักงาน 3 หน่วยกิต
บ.336 โปรแกรมด้านกราฟิก 3 หน่วยกิต
บ.345 บรรณานุกรม ดรรชนีและสาระสังเขป 3 หน่วยกิต
บ.346 การวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ 2 3 หน่วยกิต
บ.357 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 หน่วยกิต
บ.358 ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
บ.359 ทรัพยากรสารสนเทศสำหรับเด็กและวัยรุ่น 3 หน่วยกิต
บ.377 การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศสำหรับผู้ใช้กลุ่มพิเศษ 3 หน่วยกิต
บ.385 วารสารและหนังสือพิมพ์สำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.425 การวิจัยสำหรับบรรณารักษ์ 3 หน่วยกิต
บ.445 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.446 พื้นฐานการจัดการฐานข้อมูลสำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.447 การทำรายการโสตทัศนวัสดุและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3 หน่วยกิต
บ.449 เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต
บ.456 การจัดการความรู้สำหรับบรรณารักษ์ 3 หน่วยกิต
บ.466 การจัดและบริหารห้องสมุดประชาชนและห้องสมุดโรงเรียน 3 หน่วยกิต
บ.467 การจัดและบริหารห้องสมุดเฉพาะและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 3 หน่วยกิต
บ.476 การศึกษาผู้ใช้ 3 หน่วยกิต
บ.487 จดหมายเหตุและทรัพยากรสารสนเทศราชการ 3 หน่วยกิต
2.1.3 วิชาบังคับนอกสาขา นักศึกษาต้องศึกษาและสอบไล่ได้รายวิชาภาษาอังกฤษ 3 รายวิชา รวม 9 หน่วยกิต ได้แก่
อ.216 โครงสร้างภาษาอังกฤษ 3 หน่วยกิต
อ.221 การอ่านเชิงวิเคราะห์ข้อมูล 3 หน่วยกิต
อ.231 การเขียนระดับย่อหน้า 3 หน่วยกิต
2.2 วิชาโทหรือวิชาเลือก 24 หน่วยกิต
นักศึกษาอาจเลือกศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้
2.2.1 วิชาโท
นักศึกษาอาจเลือกศึกษาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เป็นวิชาโท โดยศึกษาตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของหลักสูตรวิชาโทในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่นักศึกษาเลือกศึกษาวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาโท นักศึกษาสามารถนำวิชา อ.216 , อ.221 , และ อ. 231 (วิชาบังคับนอกสาขา) มานับรวมกับวิชาภาษาอังกฤษอื่นๆ ให้ครบจำนวนวิชาตามข้อกำหนดของหลักสูตรวิชาโทภาษาอังกฤษได้ แต่จะไม่นับหน่วยกิตให้ ดังนั้นนักศึกษาต้องศึกษาวิชาอื่น ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพิ่มอีก 3 วิชา 9 หน่วยกิต เพื่อให้ครบหน่วยกิตที่กำหนดไว้
หรือ 2.2.2 วิชาเลือก
นักศึกษาอาจเลือกศึกษาจากวิชาของสาขาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมไม่เกิน 4 สาขาวิชา ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3. วิชาเลือกเสรี 9 หน่วยกิต
นักศึกษาอาจเลือกศึกษารายวิชาใดก็ได้ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิชาเลือกเสรีอย่างน้อย 9 หน่วยกิต ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง วิชาศึกษาทั่วไป หมวดภาษาต่างประเทศด้วย
การศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาโท
นักศึกษาที่ประสงค์จะศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาโท ต้องศึกษารายวิชาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาบังคับในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
รวม15หน่วยกิต ได้แก่ บ.211, บ.212, บ.241, บ.242, และ บ.251 และต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C ทุกรายวิชา
2. นักศึกษาต้องเลือกศึกษารายวิชาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3 รายวิชา รวมไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
การศึกษาเพื่อรับอนุปริญญาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
นักศึกษาผู้ใดได้ศึกษารายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ได้หน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับอนุปริญญา
1.
ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
2.
ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ภาคการศึกษาปกติ
3.
ได้ศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยครบตามหลักสูตร รวม 30 หน่วยกิต
4.
ได้ศึกษารายวิชาเฉพาะของสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขดังนี้
4.1 วิชาบังคับในสาขา ไม่น้อยกว่า 37 หน่วยกิต และต้องสอบได้ไม่ต่ำกว่า C ในรายวิชาต่อไปนี้ บ.211, บ.212, บ.231, บ.241, บ.242, บ.251, บ.324, บ.343,
บ.344, บ.361, บ.371 และ บ.491
4.2 วิชาบังคับนอกสาขา จำนวน 9 หน่วยกิต นักศึกษาต้องสอบไล่ได้วิชาภาษาอังกฤษในรายวิชา อ.216, อ.221 และ
อ. 231
4.3 วิชาอื่นๆ ในสาขา ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
5. ได้ศึกษาวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
|